1 เรื่องแนวทางการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
ความหมายของสิ่งแวดล้อม
แบ่งเป็น
2 ประเภท ดังนี้
1. สิ่งแวดล้อมภายในตัวบุคคล (implicit environment) ได้แก่
การทำงานของระบบต่าง
ๆ ของร่างกาย เช่น ระบบย่อยอาหาร
ระบบขับถ่าย
ระบบต่อมไร้ท่อ เป็นต้น
2. สิ่งแวดล้อมภายนอก (explicit environment) ได้แก่
สิ่งแวดล้อมที่อยู่ภายนอกกายของมนุษย์
เช่น วัตถุสิ่งของ คน พืช สัตว์ กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดจากคนและสัตว์
สิ่งแวดล้อมมีความหมายและความสำคัญต่อเด็กเล็ก คือ
เด็กได้รับการฝึกอบรมให้รู้จักบทบาทต่างๆ ในสังคม ทั้งในวัยเด็ก
และวัยผู้ใหญ่ไปพร้อมๆ กัน
ปัจจัยของสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็ก
ปฐมวัยมีดังนี้
1.
ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากการตอบสนองความต้องการพื้นฐาน
2.
ประสบการณ์ที่ได้จากการสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว
3.
ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากสัมพันธภาพทางสังคม
4.
ประสบการณ์ที่ได้รับความสะเทือนใจมาตั้งแต่วัยเด็ก
สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กโดยพฤติกรรม
บางอย่างจะถูกกระตุ้นให้เร็วขึ้น
โดยสิ่งแวดล้อมหรืออาจจะช้าลงถ้าเด็กไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
ดังนั้นสิ่งแวดล้อมจึงมีอิทธิพลต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย ซึ่งจัดเป็น 3
กลุ่ม ดังนี้
1.
สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางกาย
2.
สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์และสังคม
3.
สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา
1. การจัดสิ่งแวดล้อมในห้องเรียน
เป็นการจัดวัสดุ
อุปกรณ์ และวิธีการที่มีลักษณะ และคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการกระทำกิจกรรมภายในอาคาร
และภายในห้องเรียน
2.
การจัดสิ่งแวดล้อมนอกห้องเรียน
ครูผู้จัดจะต้องพิถีพิถันในการพิจารณาวางแผนอย่างดีไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการจัดสิ่งแวดล้อมในห้องเรียน
สอดคล้องและเสริมประสบการณ์
โดยใช้พื้นที่นอกห้องเรียนเป็น 2
ส่วน คือ
2.1 สนาม
2.2 สวนในโรงเรียน
การเลือกสื่อและการจัดสภาพแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัยตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาการและการทำหน้าที่ของส่วนต่างๆ ในสมอง (Brain
- Based Learning)
1.
สื่อ
1.1 เพลง
1.2 เครื่องดนตรี
1.3 หนังสือการจัดสภาพแวดล้อม
1.
สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนต้องปลอดภัย
สะอาด ดึงดูดใจ
และกว้างขวางพอกับสนามเด็กเล่น
2.
พื้นที่จัดกิจกรรมต้องกำหนดให้ชัดเจนเด็กต้องมีพื้นที่ที่สามารถทำงานได้ด้วยตนเอง
และทำกิจกรรมด้วยกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆหรือกลุ่มใหญ่
3.
พื้นที่สำหรับเด็กต้องจัดให้สะดวกสำหรับทำกิจกรรมต่างๆ อาจจัดเป็นกลุ่มเล็กหรือรายบุคคล
4.
สีที่ใช้ทาห้องเรียนและอาคารควรใช้สีที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ เป็นสีอ่อนเย็น เช่น สีเขียว
(ก้านมะลิ) สีฟ้า (เทอร์ควอยซ์) สีเหลือง (อ่อน) เป็นต้น
2 เรื่องการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมในเด็กปฐมวัย
ความหมายของคำว่า
จริยธรรมไว้ในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน
ดังนี้
“จริยธรรม คือ หลักแห่งการประพฤติ ปฏิบัติที่ดี ที่เหมาะที่ควร”
“จริยธรรม คือ หลักคำสอนที่ว่าด้วยแนวทางการประพฤติที่เป็นหลักการและเป็นที่ยอมรับนับถือ”
“จริยธรรม คือ หลักแห่งการประพฤติ ปฏิบัติที่ดี ที่เหมาะที่ควร”
“จริยธรรม คือ หลักคำสอนที่ว่าด้วยแนวทางการประพฤติที่เป็นหลักการและเป็นที่ยอมรับนับถือ”
ทฤษฎีจริยธรรมตามแนวคิดการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมของโคลเบอร์ก
(Kolhberg’s theory of morals resoning)
(Kolhberg’s theory of morals resoning)
โคลเบอร์ก เป็นนักจิตวิทยาที่อธิบายถึงจริยธรรมของคนที่พัฒนาขึ้นไปพร้อม
ๆ กับความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ ระดับก่อนกฎเกณฑ์
ระดับกฎเกณฑ์สังคม และระดับเลยกฎเกณฑ์ของสังคม สำหรับเด็กปฐมวัย
จะอยู่ในขั้นแรกของทฤษฎีคือ ระดับก่อนกฎเกณฑ์
ขั้นตอนที่ 1
การหลีกเลี่ยงการลงโทษและการทำตามคำสั่ง (Punishment
and obedience oreintation) เด็กวัยนี้จะประพฤติตนตามกฎเกณฑ์ต่าง
ๆ เพราะหลีกเลี่ยงการลงโทษ ความถูก ผิด ตัดสินโดยพิจารณาผล
ขั้นตอนที่
2 การปฏิบัติเพื่อมุ่งหวังรางวัลส่วนตัว (Personal
reward Oreintation) เด็กจะนำความต้องการของตนมากำหนดสิ่งที่ถูกและผิด
ถ้าหากปฏิบัติสิ่งใดแล้วได้รางวัลก็จะยึดถือว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
ทฤษฎีการเรียนรู้จริยธรรมด้วยการกระทำตามแนวคิดของสกินเนอร์
เชื่อว่าพฤติกรรมของคนเกิดจากการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
ผลจากการแสดงพฤติกรรมนั้นจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าพฤติกรรมนั้นจะมีแนวโน้มเกิดขึ้นอีกหรือไม่ในสถานการณ์ที่คล้ายกับสถานการณ์เดิม
ถ้าเกิดขึ้นอีกจะเรียกผลพฤติกรรมนั้นว่า การเสริมแรงทางบวก
แต่ถ้าไม่เกิดขึ้นอีกเรียกผลของพฤติกรรมนั้นว่า การลงโทษ
การอธิบายถึงการเรียนรู้ด้านจริยธรรมผ่านกระบวนการเสริมแรงและการลงโทษ
หากเด็กแสดงพฤติกรรมที่ดีแล้วได้รับการชมเชย ยกย่อง คือ
เด็กจะแสดงพฤติกรรมนั้นซ้ำอีก แต่หากแสดงพฤติกรรมใดแล้วถูกลงโทษ
เด็กจะระงับหรือหยุดการกระทำนั้น ๆ
ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมจริยธรรมตามแนวคิดของแบนดูรา
พฤติกรรมส่วนใหญ่ของคนในสังคมเกิดจากการเรียนรู้
โดยการสังเกตจากตัวแบบ ทั้งตัวแบบในชีวิตจริง
พฤติกรรมจริยธรรมตามแนวคิดนี้มี 4 ขั้นตอนคือ
ขั้นตอนที่
1 กระบวนการตั้งใจ
ขั้นตอนที่
2 กระบวนการเก็บจำ
ขั้นตอนที่
3 กระบวนการกระทำ
ขั้นตอนที่
4 กระบวนการจูงใจ
ประเมินตนเอง ได้รู้เนื้อการแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมและการปลูกฝังคุณธรรมในเด็กปฐมวัย
ประเมินเพื่อน นื้อการแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมและการปลูกฝังคุณธรรมในเด็กปฐมวัย
ประเมินอาจารย์ อาจารย์มีการเตรียมตัวในการสอนมาอย่างดีทุกอาทิตย์มีความพร้อมในเนื้อหาที่สอนและมีการวางแผนในการสอนทุกครั้ง
ภาพบรรยากาศในห้องเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น