วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2561

วันที่ 6 มีนาคม 2561 ครั้งที่ 8

การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย

  การอบรมเลี้ยงดู หมายถึง การที่ พ่อ แม่ดูแลเลี้ยงดูลูกปฏิบัติต่อลูกที่ยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ให้เจริญเติบโตและมีพัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์จิตใจ ด้านสังคมและด้านสติปํญญา
ความจำเป็นที่ต้องมีพ่อ 
เด็กต้องเห็นตังอย่างผู้ใหญ่ชาย
พ่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกชาย
เด็กผู้หญิงจะได้รู้บทบาทผู้ชาย
พ่อช่วยปลูกฝังลักษณะให้แก่ลูก เช่น ความแข็งแกร่งบึกบึน
ความจำเป็นที่ต้องมีแม่
คอยดูแลลูกให้ปฏบัติตามแบบแผน
ช่วยปลูกฝังนิสัยการกินที่ดี
สอนให้รักษาความสะอาด
สอนให้ลูกรู้จักเก็บรักษาสมบัติของตนเอง
ความสำคัญและความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูก
หมายถึง ความรู้สึกที่พ่อแม่มีต่อลูกและความรู้สึกที่ลูกมีต่อพ่อแม่
วิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย   มีดังนี้  
                  1.   การสร้างความผูกพันรักใคร่   เป็นพื้นฐานสำคัญในการอบรมเลี้ยงดู   พ่อ – แม่  ผู้ปกครองจะต้องเริ่มสร้างความผูกพันรักใคร่ให้เกิดขึ้น   ตั้งแต่เด็กยังอยู่ในวัยแรกเกิด  พ่อแม่   ผู้ปกครองได้สัมผัสลูกอย่างอ่อนโยนอุ้มอย่างทะนุถนอม เลี้ยงดูเอาใจใส่ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้กับเด็ก  ดูแลความสุขสบายต่าง ๆ  พูดคุยกับเด็กด้วยเสียงที่นุ่มนวล  เป็นต้น   สิ่งนี้จะเป็นพื้นฐานที่จะช่วยให้การอบรมในวัยเด็กได้ผลดีอีกทั้งยังเป็นการสร้างความผูกพันรักใคร่ให้เกิดกับเด็กอีกด้วย
                  2.   ระบบการให้รางวัลทางด้านบวก   เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเด็กได้กระทำพฤติกรรมที่พึงปรารถนาจะมีการให้รางวัลหรือสิ่งตอบแทน   เช่น  ความรัก  ความสนใจ         
คำชมเชยซึ่งจะทำให้การกระทำนั้น ๆ เกิดขึ้นอีก
                  3.   พ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องเป็นผู้มีศีลธรรม ประพฤติปฏิบัติแต่ในสิ่งที่ดีงามและถูกต้อง
                  4.   การควบคุมสิ่งแวดล้อม   พ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องจัดสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์   เช่น  การจัดให้เล่นเกมเพื่อเด็กจะได้รู้จักกฎเกณฑ์  และการรู้แพ้รู้ชนะ   การจัดหาหนังสือที่มีประโยชน์อ่านให้เด็กฟัง   เพื่อให้เกิดนิสัยรักการอ่าน  เป็นต้น
                  5.   วิธีการตอบสนองกลับ  เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้พูดเพื่อแสดงความรู้สึกของตนออกมาทั้งทางบวกและทางลบ  เมื่อเด็กมีปัญหาพ่อแม่ผู้ปกครองควรตัดสินใจฟังเด็กว่ากำลังพูดอะไร  เมื่อเด็กพูดจบพ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องสะท้อนความรู้สึกที่เด็กได้แสดงออกกลับไป   ด้วยคำพูดของพ่อแม่ผู้ปกครองเอง   ซึ่งจะทำให้เด็กรู้สึกว่าตนเองเป็นที่ยอมรับและมีคุณค่า   อันจะส่งผลให้พ่อแม่ผู้ปกครองและเด็กเข้าใจได้ตรงกัน
                  6.   การควบคุมพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์   พ่อแม่ผู้ปกครองควรควบคุมพฤติกรรมเหล่านี้ด้วยวิธีการต่าง ๆ  ที่เหมาะสมกับปัญหา  วิธีการที่ใช้ในการแก้ปัญหาได้แก่
                        6.1   การแยกเด็กออกจากกลุ่มในช่วงเวลาสั้น ๆ
                        6.2   การแยกตัวของพ่อแม่ผู้ปกครอง
                        6.3   การห้ามไม่ให้เด็กทำสิ่งหนึ่งที่สำคัญสำหรับตัวเด็กในช่วงเวลาหนึ่ง

                        6.4   การตี   จะใช้ก็ต่อเมื่อใช้วิธีการอื่นไม่ได้ผลแล้ว   ไม่ควรทำกับเด็ก  2  ขวบ  และไม่ควรกระทำอย่างรุนแรง
วิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่ไม่เหมาะสม
                  วิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่ไม่เหมาะสม   มีดังนี้
                  1.   การสั่งสอนไม่ควรเป็นการเทศนา   เพราะจะทำให้เด็กเบื่อ   ไม่สนใจใยดีที่จะฟัง   ดังนั้นในการอบรมเลี้ยงดูพ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องสอนด้วยเหตุผลสั้น ๆ  อย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย
                  2.   การดุด่า  ไม่ควรนำมาใช้เพราะจะทำให้เด็กเกิดความรู้สึกเกลียดพ่อ  แม่  ผู้ปกครอง
                  3.   การขู่   พ่อแม่ผู้ปกครองมักใช้คำขู่เด็กเมื่อมีความโกรธหรือเด็กไม่ยอมทำตาม  หรือไม่เชื่อฟัง   ดังนั้น  ในการสอนหรืออบรมเด็กไม่ควรนำคำขู่มาใช้
                  4.   การพูดเสียดสี  เหน็บแนม  หรือ  ถากถาง  ที่พ่อแม่ผู้ปกครองประสงค์ทำเพื่อประชดหรือให้เด็กได้เจ็บโดยหวังว่าเด็กจะมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น  แต่ในข้อเท็จจริงแล้วกลับกลายเป็นการทำลายสัมพันธ์ภาพระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครองกับเด็ก
                  5.   การสัญญา   สัมพันธภาพระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครองและเด็ก   ควรอยู่บนพื้นฐานของความ  เชื่อถือ  เชื่อใจซึ่งกันและกันไม่ใช่การสัญญา
                  6.   การติดสินบน    จะทำให้เด็กทำดีเพียงชั่วครู่เท่านั้น  แต่ในระยะยาวแล้วจะไม่ได้ผล  เพราะไม่สามารถติดตัวเด็กเป็นนิสัยได้
                  7.   การหลอกหรือหยอกล้อเด็กในทางที่ไม่ควร  เพื่อหวังผลให้เด็กหยุดพฤติกรรมที่กำลังทำอยู่   หรือเพื่อความสนุกสนาน  นอกจากจะทำให้เด็กเกิดความรู้สึกกลัวโดยไร้เหตุผลแล้ว   ยังเป็นการขัดขวางความอยากรู้อยากเห็นของเด็กอีกด้วย

ทารกแรกเกิด 0-30 วันดูแลและส่งเสริมพัฒนาการ

เมื่อแรกคลอดสัญชาตญาณของทารก คือการมีชีวิตรอด ทารกปกติจะมีทักษะการหายใจได้เองอย่างน่าอัศจรรย์  เมื่อแรกคลอดที่ตัดสายสะดือ เขาและคุณแม่ถูกแยกออกเป็นคนละคนแล้ว  ยกเว้นในรายที่มีอาการผิดปกติร่วมด้วย ไม่สามารถหายใจได้เอง ทารกวัยแรกเกิดนี้ ประสาทสัมผัสทั้ง5 เริ่มทำงาน สามารถได้ยินเสียงจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้เป็นอย่างดี เพราะหูของเขารับรู้ได้ยินเสียงตั้งแต่เดือนที่ 7 ขณะอยู่ในครรภ์  รู้สึกร้อนหนาว ร้องเมื่อเปียก แฉะ หนาว หรือหิว ประสาทสัมผัส ทั้ง 5 ทำงานเกิอบปกติแล้ว ยกเส้นการมองเห็น  เพราะทารกแรกเกิด – 30 วัน สามารถมองเห็นลางๆ คล้ายทีวีขาวดำ ระยะ 1 ฟุตเท่านั้น

ตรวจเช็คพัฒนาการ ทารกแรกเกิด

วัยแรกเกิดฉลาดที่จะเรียนรู้ – เมื่อแตะมุมปาก ลูกจะเผยอปากพร้อมกับหันหานิ้วที่แตะ ทำท่าเตรียมดูดนมได้
  • คว้าจับได้หากบังเอิญมือไปแตะเข้ากับสิ่งของ
  • หากแม่เอานิ้วมือไปสัมผัสบริเวณฝ่ามือของลูก ลูกจะค่อยๆ กำมือเข้าหา เมื่อดึงออก

การกระตุ้น พัฒนาการทารกแรกเกิด

  • กระตุ้นด้วยการสัมผัสที่อบอุ่น
  • กระตุ้นด้วยการนวดสัมผัส การนวดสัมผัส ทำให้ทารกผ่อนคลาย หลับสบาย อารามณ์ดีท้องไม่อืด

โภชนาการของ ทารกแรกเกิด


  • นมแม่อย่างเดียว แรกเกิด – 2 วันแรกลูกอาจจะไม่ดูดนม หลับซะส่วนใหญ่เป็นพัฒนาการตามวัย เด็กแรกเกิด สามารถอยู่ได้ 24 ชั่วโมงโดยที่ไม่ต้องรับประทานอะไรเลย  เพราะทารกได้สระสมสารอาหารจากสายสะดือแม่ตอนที่อยู่ในครรภ์ พกติดตัวมาด้ว หรือเรียกกันว่า เด็กแรกเกิดพกปิ่นโตมาด้วย หาก 2 วันแรกทารกดูดนมน้อย นอนมาก อย่าตกใจ
  • สำหรับทารก ที่ไม่สามารถดื่มนมแม่ได้  ไม่ว่าจะเหตุผลใๆก็ตาม ุแม่ควรให้ลูกได้รับนม ผงวันละ 6-8 มื้อ
  • ไม่ต้องดื่มน้ำเพราะในนมแม่มีอัตราส่วนของน้ำผสมอยู่แล้ว
  • สูตรคำนวณนมของทารกแรกเกิด 0-30 วัน
    น้ำหนักลูกเป็นกิโลกรัม คูณ  150 ซีซี แล้วหาร 30 เป็นปริมาณนมใน 1 วัน แบ่ง 6 มื้อ
    ตัวอย่างเคสแรกเกิด หนัก 3 กก. ครบ 1 เดือน ควรหนัก 3.6 แต่คำนวณง่ายๆ เอา 4 กก.คูณ 150 เท่ากับ 600 หาร 30 คือ 20 ออนซ์ + /- ได้ไม่เกิน 4 ออนซ์ ควรเเบ่งมื้อนมอออกเป้น 6-8มื้อ/วัน นะคะ ไม่ควรให้นมลูกมากเกิดนไปอาจทำให้เกิด Over feeding ได้

การดูเเลทุกเรื่องของทารกแรกเกิด ตลอด24ชั่วโมง 

เมื่อลูกยังไม่ครบ 1 เดือน คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลอย่างไกล้ชิด วิธีการดูแลลูกน้อยอย่างถูกต้องเหมาะสม และสังเกตอาการที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนี้
  • แหวะนม  อาเจียน  อาการดังกล่าวหากเกิดไม่ถี่จนเกินไป ถือว่าปกติ เกิดจากหูรูดกระเพาะอาหารทำงานไม่สมบูรณ์ หากบ่อยครั้ง อาเจียนพุ่ง ควรพบแพทย์ อาจมีภาวะกรดไหลย้อน หรือลำไส้กลืนกัน
  • เด็กนมผสม ในรายที่คุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ ลูกกินนมผสม( นมผง)  อาจมีปัญหามากกว่าเด็กนมแม่ เช่น ผื่นขึ้น ท้องอืด ถ่ายเหลว ถ่ายเป้นมูก ไม่ถ่าย แน่นอนลูกคุณแม่อาจแพ้โปรตีนในนมวัว ต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด่วนค่ะ
  • ท้องอืด    หากลูกดูดลมเข้าไปเยอะ ควรให้เรอหลังดูดนมทุกครั้ง และอุ้มนาน 30 นาทีก่อนค่อยให้นอนลง
  • การขับถ่ายปัสสาวะสีเข้มหรือไม่  การได้รับน้ำ หรือนมไม่เพียงพอทำให้ปัสสาวะสีเข้มได้ คุณแม่ควรใส่ใจลูกน้อยเรื่องนี้ด้วยค่ะ
  • การขับถ่ายหากลูกกินนมแม่จะถ่ายอุจจาระบ่อย 48ชั่วโมงแรก ทารกจะมีอุจจาระที่ดำๆ เขียวๆ ที่เรียกว่า “ขี้เทา” มีลักษณะนุ่มเหนียว ซึ่งเป็นสิ่งที่ตกค้างอยู่ในลำไส้ของทารกจากเมื่อตอนที่ยังอยู่ในท้องแม่ และจะถูกขับออกมาตามกระบวนการขับถ่าย หลังจากนั้นอุจจาระของลูกก็จะกลายเป็นสีเหลืองเอง
  • ลิ้นเป็นผ้า หลังดื่มนม ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำต้มสุกเช็ดทำความสะอาดคราบน้ำนม เหงือก และลิ้น
  • ร้องตลอดเวลา การร้องของลูกวัยนี้บ่งบอกถึง การไม่สุขสบาย คุณพ่อคุณแม่ต้องสำรวจว่า เปียก หิว หนาว ร้อน หรือมดแมลงกัดหรือเปล่า ค่อยๆสังเกตอย่าใจร้อนและตกใจกับเสียงของเจ้าตัวเล็ก
  • เปลี่ยนผ้าอ้อมสำเร็จรูปทุก 4 ชั่วโมง หรือเมื่อขับถ่ายอุจาระ สำหรับผ้าอ้อมผ้า เปลี่ยนทุกครั้งที่แฉะ เปียก
  • อาบน้ำ วันละ 1 ครั้ง สระผมวันละ 1 ครั้ง ถ้าอาบน้ำตอนเช้า ตอนเย็นให้เช็ดตัว  น้ำที่ใช้ต้องเป็นน้ำอุ่นเท่านั้น
  • เปิดแอร์ได้ หากร้อน อุณภูมิห้องเด็ก ควรอยู่ที่ 27 องศาเซลเซียส หากเปิดพัดลมไม่ควรสัมผัสทารกโดยตรง
  • ถุงมือ ไม่ควรสมใส่ถุงมือตลอดเวลา เพราะเป็นการปิดกั้นพัฒนาการลูก เด็กวัยแรกเกิดหากใช้มือสัมผัสกับสิ่งรอบข้าง กำๆ แบๆ บ่อยๆ เป็นการเสริมสร้างเส้นใยประสาท เป้นการกระตุ้นที่ดีมาก
  • ห่อตัว ไม่ควรห่อตัวลูกหากไม่จำเป็น  เพราะเด็กสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้แล้ว ห่อตัวเมื่ออกนอกบ้าน เช่นไปฉีดวัคซีน  ตรวจสุขภาพ เท่านั้น
การดูแลทารกแรกเกิดไม่ใช่เรื่องยากเกินความสามารถของคุณแม่อย่างคุณ เทคนิคการเลี้ยงลูกให้มีความสุขในช่วงวัยนี้คือ สังเกตุความต้องการและตอบสนองให้ตรงจุดเพราะเด็กแต่ละคนความต้องการแตกต่างกัน แค่นี้คุณก็เป็นคุณแม่มืออาชีพแล้ว
ประเมินตัวเอง ได้รู้วิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กฐมวัย
ประเมินเพื่อน เพื่อนๆได้รู้วิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กฐมวัย
ประเมินอาจารย์ อาจารย์อธิบายวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กฐมวัยได้ดี
ภาพบรรยากาศในห้องเรียน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วันที่ 24 เมษายน 2561 ครั้งที่ 13

วันนี้อาจารย์ได้นัดนักศึกษาทำอาหารเด็กปฐมวัยที่โรงเรียนสาธิตจันทรเกษม เพื่อนต่างพากันเตรียมอุปกรณ์มาทำอาหาร                           ...